หลายปีที่แล้วนักพัฒนาเว็บไซต์ต่างพากันเลิกใช้จูมล่าและหันไปใช้ WordPress กันแทน ซึ่งขณะนี้ WordPress เป็น CMS (Content Management System) ที่นิยมมากที่สุด WordPress เริ่มต้นจากการเป็นแพลตฟอร์มเฉพาะสำหรับบล็อก แต่มีการเติบโตและพัฒนาขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเป็นผู้นำทางซอฟท์แวร์ที่มียอดการติดตั้งนับล้านนั้น WordPress มักจะเป็นเป้าหมายของเหล่าแฮกเกอร์และสแปมบอท ผู้ต้องการสร้างเว็บไซต์สามารถใช้ประโยชน์กับ Joomla และ WordPress ได้มากมาย ทั้งยังมีความสามารถ ความยืดหยุ่น ซึ่งทำให้สะดวกในการใช้งานมากขึ้น
ในบทความนี้เราจะแสดงให้เห็นว่าทำไมคุณถึงควรกลับมาใช้จูมล่า 3.3 ตัวใหม่ (และ 3.4 เร็วๆนี้)
- Multilingual websites: ในขณะที่ทำการติดตั้งจูมล่านั้น ผู้ใช้สามารถที่จะเลือกภาษาเพิ่มเติมจากภาษาอังกฤษได้ ซึ่งแตกต่างจากซอฟท์แวร์ตัวอื่นที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ add-onในการสร้างภาษาที่หลากหลายให้กับเว็บไซต์
- Mobile Bootstrap framework: จูมล่า 3.3 ใช้ Twitter Bootstrap Framework สำหรับระบบหลังบ้าน ซึ่งได้มีการออกแบบใหม่และสามารถเปิดใช้งานกับมือถือได้อย่างง่ายดาย ส่วนเทมเพลตบนหน้าเว็บไซต์และระบบหลังบ้านนั้นสามารถเปิดใช้งานรองรับทุกหน้าจอโดยอัตโนมัติ
- The Install from Web feature: ผู้ใช้สามารถติตตั้ง extensionในลักษณะที่คล้ายกันเหมือนใน WordPress โดยการเลือกจากสารบบบนเว็บไซต์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องดาวน์โหลดมาก่อน
- ACL (Access Control List) Support: ครั้งนี้จูมล่าขยายระบบการควบคุมการเข้าถึง (access control) มากกว่าจูมล่ารุ่น 1.5 แต่ WordPress นั้นมีการจำกัดระบบการควบคุมการเข้าถึงและยากในการปรับปรุงแก้ไข สำหรับจูมล่า 3.x นั้นมีระบบการควบคุมการเข้าถึงที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่น ระบบการควบคุมการเข้าถึงของจูมล่านั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระบบ ระบบแรกเป็นระบบการควบคุมสิ่งที่ผู้ใช้สามารถมองเห็นบนหน้าเว็บไซต์ ระบบที่สองเป็นระบบการควบคุมสิ่งที่ผู้ใช้สามารถกระทำได้บนหน้าเว็บไซต์ ซึ่ง ACL ของแต่ละอันจะมีการติดตั้งที่แตกต่างกัน และมีวิธีใช้งาน 2 วิธี โดยใช้กลุ่มและระดับการเข้าถึง (access level)
- Front-end editing: นอกเหนือจากการแก้ไขบทความบนหน้าเว็บไซต์คุณยังสามารถที่จะแก้ไขโมดูลและเมนูต่างๆ ได้ ซึ่งการแก้ไขนี้เป็นประโยชน์ต่อระบบการจัดการบนหน้าเว็บไซต์
- Versioning: เป็นระบบความปลอดภัยสำหรับบทความของผู้ใช้ ระบบนี้จะทำสำเนาบทความของผู้ใช้เมื่อมีการแก้ไขทันที ซึ่งคุณลักษณะนี้คล้ายคลึงกับ WordPress Revisions System ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถดูสิ่งที่ทำการแก้ไขไปแล้ว และสามารถเปรียบเทียบงานที่ยังไม่ถูกแก้ไขกับงานที่แก้ไขแล้ว ซึ่งผู้ใช้สามารถแปลงงานไปเป็นงานเดิมได้
- Tags system: ปัจจุบัน บทความ, แหล่งป้อนข่าว, ลิสต์รายชื่อ, และหมวดหมู่ มีส่วนเพิ่มเติมที่เรียกว่า tags Tags เดียวกันสามารถนำไปใช้บนหลายบทความได้ Tags ไม่มีส่วนรับผิดชอบ URLs ของเว็บไซต์แต่สามารถที่จะรวบรวมบทความต่างๆ หากบทความ แหล่งป้อนข่าวหรือสิ่งอื่นบนหน้าเว็บไซต์ได้รับการTag เมื่อเคลื่อนเม้าส์ไปที่ Tag นั้นจะแสดงให้เห็นถึงลิสต์รายการทุกอย่างที่มี Tagเดียวกัน
- Smart Search: เป้าหมายสำหรับ in-build extension ตัวใหม่นี้มีเพื่อพัฒนาการค้นหาข้อมูล และเทคนิคกลวิธีต่างๆ ของ Google Smart Search โดยยังมี Pre-defined filters ซึ่งเป็นการจำกัดและจัดการ traffic data ของเว็บไซต์ให้กับผู้ใช้เพื่อที่ผู้ใช้จะสามารถตั้งค่าผลลัพท์ที่จะถูกแสดงขึ้น หลังจากทำการวัดค่าดัชนีเป็นครั้งแรกแล้ว จูมล่าจะทำดัชนีต่อบทความของคุณโดยอัตโนมัติ
- New Security Layers: ในการอัพเดตหรือติดตั้งจูมล่า 3.3 ผู้ใช้ต้องใช้ PHP 5.3.10 (แต่เราแนะนำให้ใช้อย่างน้อยเวอร์ชั่น 5.4) เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยในการเข้ารหัสซึ่งรวมเข้าไปในจูมล่า จูมล่าซอฟท์แวร์นั้นมีระบบพิสูจน์ผู้ใช้งานซึ่งมี 2 ปัจจัยเป็นหลัก (two-factor authentication) โดยปัจจัยหนึ่งคือ the integration to Google Authenticator และปัจจัยที่สองคือ YubiKey เมื่อปัจจัยสองตัวนี้ถูกเปิดใช้งาน user account ทุกคนสามารถใช้งานได้ Joomla 3.3 เพิ่มการเข้ารหัสของทุก hashing (การเขียนโปรแกรม ให้การบันทึกเก็บข้อมูลได้ โดยอาศัยวิธีการคำนวณ) และเก็บรักษาโดยใช้ BCrypt
- Joomla’s extension directory: เป็นแหล่งที่มาอย่างเป็นทางการของ Joomla extensions ขณะที่ทำการเขียนบทความนี้ เรามี extension 8,200 ตัวไว้ใช้งาน ครึ่งนึงของ extensions นี้สามารถดาวน์โหลดฟรีและสำหรับ 50% ที่เหลือนั้นถูกผลิตขึ้นมาเพื่อการค้า extension ทุกตัวนั้นมีคำอธิบายถึงลักษณะและวิธีใช้งาน รวมถึงยังมีรีวิวจากผู้ใช้ท่านอื่นให้ผู้ใช้สามารถอ่านก่อนเลือกใช้ extension จำนวนมากสามารถใช้งานโดยเฉพาะกับจูมล่าเวอร์ชั่นใหม่โดยใช้ integrated Bootstrap
บทสรุป
ถึงแม้ว่า WordPress และจูมล่าจะถูกสร้างขึ้นมาจากองค์ประกอบทางเทคโนโลยีเดียวกัน โดยมีลักษณะและความสามารถที่ต่างกันไป แต่ดูเหมือนว่า จูมล่า 3.x ได้ทำการเจาะตลาดกลุ่มนักพัฒนาเว็บไซต์และกลุ่มนักออกแบบเว็บไซต์ ซึ่งมีความพร้อมมากกว่าการใช้ WordPress แต่การจัดการของจูมล่านั้นจะง่ายกว่า Drupal
WordPress จะใช้งานง่ายกว่าสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป แต่ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องติดตั้ง Plugins จำนวนมากในการเอา feature ทั้งหลายของ WordPress ซึ่งผิดกับจูมล่าที่ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง plugins เลย เพราะจูมล่าล้วนแต่มี featureในตัวของมันเอง
เพิ่มเติมที่: http://www.joomshaper.com/blog/joomla/joomla-10-reasons-to-switch-from-wordpress#sthash.A3iCI9k1.dpuf